ชุมชนก้าวหน้า
ศูนย์ประสานงานช่วยเหลือชุมชนทั่วประเทศ เพื่อให้เข้าถึงข่าวสารและการช่วยเหลือด้านข้อมูลเอกสารต่างๆ
ช่วยประชาสัมพันธ์ข่าวสารต่างๆ ที่ช่วยให้ชุมชนได้รับข้อมูลที่ทันสมัยและถูกต้อง
จัดอบรมหรือเผยแพร่ความรู้ที่ช่วยเหลือให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของท้องถิ่น ให้สามารถแข่งขันกับตลาดได้อย่างมั่นคง และยั่งยืน
ประสานงานหน่วยงานทางด้านสาธารณสุข เพื่อให้คนในชุมชนได้รับความช่วยเหลืออย่างเท่าเทียมและรวดเร็ว
ช่วยจัดหาและจัดทำเอกสารต่างๆ ที่ต้องติดต่อกับหน่วยงานของรัฐ เพื่อลดขั้นตอนข้อจำกัดในการจัดเตรียมเอกสารต่างๆ
ให้ความรู้และคำปรึกษาด้านกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับชุมชน เพื่อให้ลดข้อพิพาทต่างๆ
อำเภอภูเวียง
คำขวัญ: ภูเวียงเมืองเก่า ศาลเจ้าจอมปากช่อง
พัทยาสองโสภิณ เกาะกุดหินหาดสวรรค์
ศรัทธามั่นหลวงปู่ธีร์ ชมวิถีถิ่นควายไทย
จังหวัด ขอนแก่น
พื้นที่
• ทั้งหมด 621.6 ตร.กม. (240.0 ตร.ไมล์)
ประชากร (2564)
• ทั้งหมด 71,890 คน
• ความหนาแน่น 115.65 คน/ตร.กม. (299.5 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 40150
ที่ตั้งที่ว่าการ ที่ว่าการอำเภอภูเวียง หมู่ที่ 3 ถนนภูเวียง-กุดฉิม ตำบลภูเวียง อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น 40150
ภูเวียง เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดขอนแก่น ท้องที่อาณาเขตเดิมของอำเภอภูเวียง ครอบคลุมพื้นที่ 6 อำเภอในปัจจุบัน คือ อำเภอชุมแพ อำเภอสีชมพู อำเภอเวียงเก่า อำเภอภูผาม่าน อำเภอหนองนาคำ และบางส่วนของอำเภอหนองเรือ ซึ่งได้แบ่งแยกเขตการปกครองออกเรื่อยมา
ที่ตั้งและอาณาเขต
อำเภอภูเวียงมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอหนองนาคำ และอำเภอโนนสัง (จังหวัดหนองบัวลำภู)
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภออุบลรัตน์และอำเภอหนองเรือ
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอหนองเรือและอำเภอชุมแพ
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเวียงเก่า
อำเภอภูเวียงแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 11 ตำบล 114 หมู่บ้าน ได้แก่
1. บ้านเรือ (Ban Ruea) 9 หมู่บ้าน
2. หว้าทอง (Wa Thong) 8 หมู่บ้าน
3. กุดขอนแก่น (Kut Khon Kaen) 15 หมู่บ้าน
4. นาชุมแสง (Na Chum Saeng) 12 หมู่บ้าน
5. นาหว้า (Na Wa) 11 หมู่บ้าน
6. หนองกุงธนสาร (Nong Kung Thanasan) 16 หมู่บ้าน
7. หนองกุงเซิน (Nong Kung Soen) 9 หมู่บ้าน
8. สงเปือย (Song Puai) 11 หมู่บ้าน
9. ทุ่งชมพู (Thung Chomphu) 8 หมู่บ้าน
10. ดินดำ (Din Dam) 7 หมู่บ้าน
11. ภูเวียง (Phu Wiang) 8 หมู่บ้าน
ลำดับตำบลในอำเภอภูเวียงนี้อ้างอิงตามกระทรวงมหาดไทย เนื่องจากต้องเรียงตามลำดับรหัสตำบล
การปกครองส่วนท้องถิ่น
ท้องที่อำเภอภูเวียงประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 12 แห่ง ได้แก่
เทศบาลตำบลภูเวียง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลภูเวียง
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเรือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านเรือทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลหว้าทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหว้าทองทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลกุดขอนแก่น ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกุดขอนแก่นทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลนาชุมแสง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาชุมแสงทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาหว้าทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุงธนสาร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองกุงธนสารทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุงเซิน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองกุงเซินทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลสงเปือย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสงเปือยทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งชมพู ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งชมพูทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลดินดำ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดินดำทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลภูเวียง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลภูเวียง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลภูเวียง)
ประวัติ
ภูเวียงเป็นเมืองเก่ามาแต่โบราณกาล โดยจะเห็นได้ว่าเมื่อแรกตั้ง จังหวัดขอนแก่น มีเพียง 3 เมืองเท่านั้น คือ เมืองชนบท เมืองภูเวียง และเมืองขอนแก่น โดยที่เมืองภูเวียงเป็นเมืองที่อยู่ทางด้านทิศตะวันตก คนทั้งหลายมักจะเรียกเมืองภูเวียงว่าเป็น “หัวเมืองเอกฝ่ายตะวันตก” ตามประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาค ของอำเภอภูเวียง ปรากฏว่าเมืองประมาณ พ.ศ. 2300 มีพรานป่าคนหนึ่งชื่อสิงห์ ภายลังได้รับแต่งตั้งเป็น “กวนทิพย์มนตรี” ได้เข้าไปล่าเนื้อในเขาภูเวียง กวนทิพย์มนตรีเดิมอยู่บ้านข่าเชียงพิณ อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ ได้เห็นในวงภูเวียงเป็นทีราบน้ำท่าอุดมสมบูรณ์เป็นทำเลที่เหมาะสมแก่การทำมาหากิน จึงชักชวนพี่น้องเข้าไปตั้งหลักฐานบ้านเรือนครั้งแรก อพยพไปประมาณ 10 ครอบครัว ไปตั้งบ้านบริเวณบริเวณด่านช้างชุม เพราะที่ตรงนั้นมีโขลงช้างป่ามารวมกันมาก คือ บ้านเมืองเก่าในปัจจุบัน ขณะนั้นพื้นแผ่นดินภูเวียงขึ้นกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระเจ้าตากสินมหาราชของประเทศไทย เมื่อกวนทิพย์มนตรีไปตั้งบ้านเรือน ณ ดังกล่าวและต่อมามีประชาชนเมืองยโสธร นครจำปาศักดิ์ และนครเวียงจันทน์ เข้าไปอยู่จำนวนมาก บ้านเมืองก็ขยายออกไปหลายหมู่บ้าน ทางเจ้าเมืองเวียงจันทร์ได้แต่ตั้งให้กวนทิพย์มนตรีเป็นเจ้าเมืองภูเวียง ส่งผ้าขาวเป็นเครื่องบรรณาการแก่เมืองเวียงจันทน์
ต่อมากวนทิพย์มนตรีถึงแก่กรรม จึงตั้งท้าวศรีสุธอน้องชายเป็นเจ้าเมืองแทน ในระหว่างนั้น พระวอพระตาเป็นกบฎต่อเมืองผู้ครองนครเวียงจันทน์ และได้หลบตัวมาอยู่ในเมืองโกมุทไสย์ (จังหวัดหนองบัวลำภูในปัจจุบัน) ต่อมาเจ้านครเวียงจันทน์สั่งให้ทหารจับพระวอพระตา เมื่อพระวอพระตารู้ตัวจึงหลบหนีไปอยู่ดอนมดแดงแขวงเมืองอุบลราชธานี เจ้านครเวียงจันทร์สั่งให้แม่ทัพคุมทหาร ติดตามไปจับพระวอพระตาประหารชีวิต ความทราบถึงพระเจ้าตากสินทราบพิโรธ เห็นเจ้านครเวียงจันทร์ดูหมิ่นพระเดชานุภาพ และรุกล้ำแดนไทย จึงส่งให้เจ้าพระยาจักรี (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) และเจ้าพระยาสุรสีห์ (สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท) สองพี่น้องยกทัพไปปราบเจ้านครเวียงจันทน์ ปรากฏว่าพระยาจักรีตีนครเวียงจันทน์แตก และเข้ายึดเมืองนครเวียงจันทน์ และหลวงพระบางไว้ได้ ต่อมาท้าวศรีสุธอเจ้าเมืองภูเวียง ซึ่งอยู่ในความปกครองของเจ้าผู้ปกครองนครเวียงจันทร์ไหวตัวทัน จึงยอมอ่อนน้อมต่อพระยาจักรี และพระยาจักรีจึงสั่งให้ท้าวศรีสุธอกลับไปเป็นเจ้าเมืองภูเวียงดังเดิม และให้ขึ้นกับเจ้าเมืองหนองคายซึ่งเป็นเมืองใหญ่ ท้าวศรีสุธอถึงแก่กรรม ทางราชการได้แต่งตั้งเจ้าเมืองต่อจากท้าวศรีสุธอต่อมาอีก 2 คน เมื่อท้าวสุธอที่ 3 ถึงแก่กรรม พระศรีธงชัยเป็นเจ้าเมืองแทนเมื่องพระศรีธงชัยถึงแก่กรรม ข้าหลวงจันทร์มาซึ่งส่งมาจากหนองคายเป็นเจ้าเมืองแทน แล้วจึงยุบภูเวียงเป็นอำเภอ ขึ้นตรงต่อจังหวัดขอนแก่น เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2369